ยินดีต้อนรับ สู่บล็อกของ นางสาววรรวิภา โพธิ์งาม เอกการศึกษาปฐมวัย วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ค่ะ

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 11

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 11

วันที่ 16 มกราคม 2557
เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
.....................................................

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

          วันนี้อาจารย์ให้ทุกคนออกมานำเสนอสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ทุกคนได้คิดไว้แล้วนั้น 
อาจารย์ก็จะแนะนำในสิ่งที่ควรรู้ ควรนำไปปรับใช้กับเด็กๆได้อย่างเหมาะสมตามสื่อที่เราจะทำหรือประดิษฐ์
ขึ้นมา


กิจกรรมในวันนี้ 

กิจกรรมแรก
       
      สื่อมีชื่อว่า รูปทรงลงรู

วัตถุประสงค์
1.เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงต่างๆ
2.เด็กได้รู้เรื่องจำนวนนับ
3.เด็กนำสื่อรูปทรงใส่ลงรูได้ถูกต้องตามแบบที่มีไว้ได้
4.เด็กรู้จักแก้ปัญหาระหว่างเล่นสื่อคณิตศาตร์ได้

การดำเนินกิจกรรม
สื่อนี้ถ้าเราสอนแล้วเราจะสอนให้เด็กได้รู้เรื่องรูปทรง รูปทรงนี้มีชื่อว่าอย่างไร เมื่อสอนเสร็จอาจจะมี
คำถามให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นได้ และอาจจะให้เด็กมามีส่วนร่วมในการใส่รูปทรงให้ลงรูที่เจาะตาม
จำนวนนับ เราสาสมารถสอนเรื่องรูปทรงและเรื่องจำนวนนับไปพร้อมกันได้ คือสามารถเชื่อมโยงได้ขณะ
ทำกิจกรรม และหลังจากนั้นให้เด็กได้เล่นอิสระเพื่อดูหรือสังเกตพฤติกรรมระหว่างที่เด็กเล่นหรือปฏิบัติ 
ครูก็คอยจดบันทึกได้ 

อุปกรณ์ในการทำสื่อ
1. ตัวรูปทรง ทำจากวัสดุคือ ไม้อัดหนา (ที่ไม่ได้ใช้แล้ว) 
2. ตัวฐาน ใช้ไม้กระดานบาง
3. ตัวตั้งฐานสำหรับให้เด็กเสียบลงตามรู จะใช้ไม้กลอง
4. การเจาะรู ใช้สว่านเจาะขนาดมีความกว้างพอสำหรับเสียบกับไม้กลอง 
5. สีสเปรย์ สำหรับพ่นผลงาน
6. การร่างสื่อ
-ดินสอ
-ไม้บรรทัด
-แก้ว

คำแนะนำในการทำสื่อ
ต้องกำหนดจุดประสงค์ตามสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาตร์และสามารถนำสื่อไปประยุกต์ได้หลายด้าน
และสื่อควรทำจากวัสดุเหลือใช้ เพื่อเป็นการบูรณาการความคิดสร้างรรค์ในการใช้สิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว
และสิ่งสำคัญเราสามารถประหยัดงบได้โดยมีผลงานที่สามารถสอนได้ดี

กิจกรรมที่สอง 
      เป็นการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาตร์

การนำไปประยุกต์ใช้..

เราสามารถใช้ความคิดของเราประดิษฐ์สื่อขึ้นมาเพื่อนำไปสอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ แต่เด็ก
ต้องสามารถได้รับความรู้จากสื่อที่เราทำด้วย ส่วนเรื่องการเขียนแผนการสอน ทำให้ได้รู้วิธีในการเขียน
อย่างถูกหลักการและถูกต้องต่อสิ่งที่เราจะสอนนั่นเอง สิ่งสำคัญคือต้องรู้หลักนั่นเอง


การประเมิน
ประเมินตนเอง -  เข้าใจในการทำสื่อมากขึ้น ได้ใช้ความสามารถที่มีในการสร้างผลงาน และามารถเขียน
แผนได้

ประเมินเพื่อน - เพื่อนนำเสนอสื่อได้ดี และมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมาก

ประเมินอาจารย์ -  ให้คำแนะนำในการสร้างสื่อที่ดีและเหมาะสมแก่นักศึกษา และให้แนวทางในการเขียน
แผนได้อย่างเข้าใจอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น