ยินดีต้อนรับ สู่บล็อกของ นางสาววรรวิภา โพธิ์งาม เอกการศึกษาปฐมวัย วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 15


วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
.....................................................

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

          วันนี้อาจารย์สรุปทุกอย่างที่เรียนมาเพื่อที่เราจะได้ใช้ได้การสอบปลายภาค แยกในแต่ละเรื่องแต่ละประเด็น ให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น

กิจกรรมในวันนี้

กิจกรรมแรก
              ทุกกลุ่มออกมานำเสนอแผ่นพับของตนเอง
กลุ่มที่ 1 กุ๊กไก่มีหลายชนิด




กลุ่มที่ 2 ไข่กับคณิตศาตร์




กลุ่มที่ 3 คณิตศาตร์กับส่วนประกอบของไก่





กลุ่มที่ 4  ประโยชน์และโทษของไก่



กลุ่มที่ 5 การดูแลรักษาไก่



กิจกรรมที่ 2
การประดิษฐ์สื่อ



อุปกรณ์ในการทำสื่อ
1. ตัวรูปทรง ทำจากวัสดุคือ ไม้อัดหนา (ที่ไม่ได้ใช้แล้ว) 
2. ตัวฐาน ใช้ไม้กระดานบาง
3. ตัวตั้งฐานสำหรับให้เด็กเสียบลงตามรู จะใช้ไม้กลอง
4. การเจาะรู ใช้สว่านเจาะขนาดมีความกว้างพอสำหรับเสียบกับไม้กลอง 
5. สีสเปรย์ สำหรับพ่นผลงาน
6. การร่างสื่อ
-ดินสอ
-ไม้บรรทัด
-แก้ว


การนำไปใช้กับเด็ก..


เป็นการทดสอบให้เด็กชายภูริภัทร โพธิ์งาม ที่อยู่อนุบาล 1 ได้เล่น ซึ่งพอน้องเห็นผลงานก็อยากจะลองเล่นเพราะสีสันทำให้น้องอยากเล่น เมื่อน้องทำได้ น้องก็มีความดีใจ และเขายังสามารถเล่นเป็นอย่างอื่นได้เช่นการนำไปบล็อกไม้รูปทรงต่างๆไปต่อเป็นบ้าน แล้วยังเล่าเป็นเรื่องเป็นราวได้จากชิ้นงานที่มี


การประเมิน
ประเมินตนเอง -  ทำงานออกมาจากใจ ทำให้ผลงานออกมาน่าพึงพอใจ และสามารถนำมาเล่นได้จริง สอนได้จริง ส่วนงานแผ่นพับรู้สึกดีที่ทำมาถูกหลักตามที่อาจารย์ต้องการ

ประเมินเพื่อน -  เพื่อนมีความสนใจ ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สรุปให้ และพรีเซ้นงานออกมาดีถึงแม้จะมีข้อผิดพลาดแต่ก็ตั้งใจทำ และนำคำปรับปรุงไปใช้ ทำให้งานออกมาดีขึ้นมากกว่าเดิม

ประเมินอาจารย์ - คอยให้คำแนะนำเสมอ เพื่อให้ทุกอย่างที่ทำออกมาสมบูรณ์มากที่สุด

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 14


วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557

เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
.....................................................

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

แนวข้อสอบในการสอบกลางภาค โดยจะมีหัวข้อหลักดังนี้ 
1.การจัดประสบการณ์ บทบาทครู ผู้ปกครอง จุดมุ่่งหมาย
2.คณิตศาตร์ ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทักษะพื้นฐาน
3.พัฒนาการของเด็ก หลักการ

กิจกรรมในวันนี้

ให้นักศึกษาจับกลุ่ม 5 คน โดยใช้กลุ่มเดิมที่เคยออกไปสอนหน้าชั้น ทำแผ่นพับให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่องที่เคยสอน นั่นก็คือ ลักษณะของไข่..
ดังภาพตัวอย่างของงาน



* ปรับแก้ไขตามคำแนะนำของอาจารย์เรียบร้อยแล้วค่ะ

การนำไปประยุกต์ใช้..

สามารถนำเรื่องที่เราจะการเรียนการสอนมาทำใส่ในแผ่นพับเป็นการสื่อสารอีกช่องทางเพื่อให้ผู้ปกครองได้ทบทวนในสิ่งที่ลูกได้เรียนในวันนี้ มีทั้งความรู้และเกม เพื่อเป็นการฝึกให้ลูกน้อยได้ และเราสามารถนำไปใช้ได้อีกหลายวิชา 

การประเมิน
ประเมินตนเอง -  ตั้งใจทำงานให้ออกมาถูกต้องและดีที่สุด นำคำแนะนำมาปรับใช้ ให้งานออกมาดี

ประเมินเพื่อน -  เพื่อนทำแผ่นพับออกมาได้สวยทุกกลุ่ม ยอมรับฟังข้อผิดพลาดของงานในกลุ่มตนเอง 

ประเมินอาจารย์ - ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเพื่องานที่จะออกมาได้อย่างดีและสมบูรณ์

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 13

วันที่ 30 มกราคม 2557

เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
.....................................................

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

วันนี้จะเป็นการสอนต่อ วันนี้จะเป็นการสอนของกลุ่มในวันที่ 2,3,4และ5  
คำแนะนำจากอาจารย์เวลาเขียนแผนและสอน

วันที่ 2 สอนในเรื่อง ลักษณะของไข่   (กลุ่มตนเอง)



โดยขั้นนำจะเป็นการพูดคำล้องจองเกี่ยวกับลักษณะไข่   ซึ่งจะยกตัวอย่างไข่มา 3 แบบ คือไข่ไก่ ไข่เป็ดและไข่นกกระทา
คำคล้องจอง
                             วันนี้มาเรียนเรื่องไข่   มีท้งใบใหญ่ ใบกลาง ใบเล็ก
จำไว้นะพวกเด็กๆ มีทั้งใบเล็ก ใบกลาง ใบใหญ่
ไข่ไก่สีเนื้อน่ากิน ใครได้ลองชิมแล้วจะติดใจ
ไข่เป็ดสีขาวนวลใส กินแล้วปลอดภัยร่างกายแข็งแรง
ไข่นกกระทาสีขาวลายจุด ใบเล็กที่สุดอร่อยเหลือแสน
พื้นผิวขรุขระเรียบแบน   กลิ่นไข่นี้แสนเหม็นคาวสิ้นดี
รูปร่างกลมๆรีๆ  ที่กล่าวมานี้คือลักษณะไข่เอย 

ข้ันสอน เป็นการถามเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างเด็กและครู ซึ่งในสาระจะสอนในเรื่อง สี พื้นผิว กลิ่น ส่วนประกอบ ขนาด และรูปทรง เราจะให้เด็กได้สัมผัสไข่จริงๆเพื่อที่สอนเรื่องผิมของไข่ทั้งสามใบ และครูถามเด็กว่า ผิวของไข่แต่ละแบบเป็นยังไง เด็กๆรู้สึกว่าเรียบหรือขรุขระ ถ้าเรียบ เราก็ขีบเป็นเส้นตรงบนกรดานเป็นการแทนสัญลักษณ์ ว่าแบบนี้คือเรียบ และขรุขระเราก็จะขีดหยักๆ เป็นสัญลักษณ์แทนเช่นกัน รูปทรงวงรี เราก็วาดวงรีให้เด็กได้เห็น กลิ่น เราจะให้เด็กได้ดมจริงๆ ขนาดราจะวาดคนตัวใหญ่ตัวเล็ก เพื่อเป็นการเปรียบเทียบถึงขนาดของไข่แต่ละแบบ สีเราจะใช้สีมาระบายให้เด็กเห็น จากนั้นมีอะไรที่เหมือนกันบ้าง เหมือนกันอย่างไร โดยผ่านการที่เด็กได้เห็นและตอบคำถามจากครูนั่นเอง

ขั้นสรุป จากนั้นเป็นการนำกราฟฟิกที่ได้เตรียมไว้ เป็นช่องตาราง มาสรุปกับเด็กๆอีกครั้งว่า  วันนี้เด็กๆได้รู้จักไข่อะไรบ้างเอ่ย และทบทวนในสิ่งที่สอนพร้อมคำกลอนในตอนแรก

คำแนะนำจากอาจารย์
- การที่จะพูดคำคล้องจองควรพูดให้เด็กฟัง 1 รอบ แล้วให้เด็กพูดตาม ไม่ควรมาท่องเนื้อหรือดูเนื้อหน้าชั้น ขณะสอนก็ใช้วาดเพื่อให้เด็กได้เห็นในขณะที่กำลังเรียน ไม่ควรทำสำเร็จมา และการเขียนกระดานก็ไม่ควรหันหลังให้กับเด็ก เพราะอาจจะทำให้เด็กไม่สนใจ ในเรื่องของการเปรียบเทียบขนาดของไข่ ควรที่จะเปรียบขนาดใหญ่และเล็กจากนั้นค่อยบอกในเรื่องขนาดกลาง

วันที่ 3 สอนส่วนประกอบของไก่

คำแนะนำจากอาจารย์
*บอกและสอนให้ตรงประเด็น
*การทำภาพให้เด็กเห็นเราก็ควรบรรยายไปก่อน ก่อนที่จะให้เด็กออกมาติดค่าจำนวน ในสิ่งที่ครูถาม
*การที่จะเปรียบเทียบความต่างเหมือนของส่วนประกอบไก่ ควรเริ่มจากสิ่งที่เหมือนก่อน ไม่ใช่ไม่เหมือนขึ้นก่อน



วันที่ 4 สอนประโยชน์ไก่


คำแนะนำจากอาจารย์
*ในการสอนควรใส่แต่สิ่งที่จะสอน และสิ่งที่สอนสามารถเชื่อมโยงไปในเรื่องของอีกวันได้
*ประสบการณ์การนับ เป็นการนับเพิ่ม ควรเพิ่ม 1 ต่อ 1
*ในการเข้าสู่บทเรียนการที่จะนำนิทานมาสอนควรนึกถึงและพูดให้เชื่อมโยงของวันก่อน
วันที่ 5 สอนเรื่องการดูแลไก่

คำแนะนำจากอาจารย์
* VDO ที่ทำมาให้เด็กดูไม่ควรยาวเกินไป 
* จากคำคล้องจองควรมีภาพแทนคำ เมื่อถามเด็กแล้วก็ทบทวนคำคล้องจอง
* จากวิดีโอเราก็ควรสอนให้ตรงตามเนื้อหาสาระที่ได้เตรียมมา และบรรยายให้ชัดเจนโดยใช้คำถาม
การนำไปประยุกต์ใช้..

 จากการที่ได้เรียนได้สอบสอนในครั้งนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ในรายวิชาอื่นๆ เช่นวลาเขียนแผน เวลาใช้คำถามพูดต่างๆเวลาสอน ได้ดีขึ้น นำเทคนิคต่างๆไปใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด

การประเมิน
ประเมินตนเอง -  ยังสอนได้ไม่ดีท่าที่ควร ควรปรับในเรื่องการสอน และการพูดคำคล้องจอง ควรฝึกให้แม่นยำมากกว่านี้

ประเมินเพื่อน -  เพื่อนในกลุ่มมีความช่วยเหลือกันดี รู้ห้าที่ของตนเอง ส่วนเพื่อนที่นั่งชมการสอนให้ความร่วมมือมากในการออกมาเป็นเด็กอนุบาลมาร่วมกิจกรรมการสอนที่ได้จัดขึ้น และตั้งใจฟังมาก

ประเมินอาจารย์ - มีคำแนะนำดีๆมากมายเทคนิคต่างๆในการสอนและเขียนแผนการสอน


วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 12

วันที่ 23 มกราคม 2557
เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
.....................................................

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

ได้เห็นกระบวนการเขียนแผนของแต่ละกลุ่มที่ได้ออกมานำเสนอหน้าชั้น และการสอนของกลุ่มแรก คือชนิดของไก่ มีไก่แจ้และไก่ต๊อก และที่ได้อีกอย่างคือได้ใช้สติปัญญา ในการคิดและวางไม้ขีด ตามคำสั่งที่กำหนด

กิจกรรมในวันนี้ 
กิจกรรมแรก
       การนำเสนอการสอนของกลุ่มแรก วันแรก ชนิดของไก่

เริ่มต้นข้นนำจะเป็นการร้องเพลง
ไก่หนึ่งตัวเดินมาตามถนน..คือไก่แจ้,มันชั่งเดิน.วกวน
หงอนใหญ่หนา..มีสีแดง..ตั้งตรง! / หางตั้งชู มันช่างดูซุกซน
เดินไปมา เจอไก่ต๊อกหน้ามน..มองที่ขน เธอเงางาม,ชอบกล
ตัวเธอป้อม..หางปลายสั้น ชี้ลง / ทั้ง2ตัว ร้องประสาน..เสียงตน.
เอกอี่เอก เอกอี่เอก อี๊เอ๊ก
เอกอี่เอก..เอก อี่เอกกก อี่เอก..

จากนั้นขั้นสอน จะมีเล้าไก่ 2เล้าเพื่อไว้แยกไก่แจ้และไก่ต๊อก จบคู่ 1 ต่อ 1 เพื่อเป็นการนับและเปรียบเทียบให้เด็กๆเห็นและได้นับตาม มีการเขียน map บนกระดานเพื่อที่ให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นตามประสบการณ์จริง และเพื่อที่จะได้ให้วันต่อๆไปมาต่อยอดเสริมการเรียนรู้พิ่มเติมในวันต่อๆไป

กิจกรรมที่สอง
ฝึกการใช้สมองในการคิดโดยมีวัสดุคือ  ไม้ขีด

โดยภาพแรกวางไม้ขีดเป็รูปหนู มีแบบ และให้หันหัวกลับ





 



ต่อมาเป็นการวางรูปปลา และยกไม้ได้ 3 อัน จะวางแบบไหนตรงไหนก็ได้แต่ต้องให้เป็นรูปปลาเหมือนกับตัวอย่าง

และการวางไม้ให้เป็นรูปสามเหนี่ยมจากไม้ขีดที่มีให้ได้ครบสามเหลี่ยมทั้ง 4 อัน โดยวางติดกัน


การนำไปประยุกต์ใช้..

สามารถนำข้อเสนอแนะที่อาจารย์ได้ให้ไว้ไปปรับใช้ในการเขียนแผนในวันของตนเอง และแผนการสอนวิชาอื่นๆได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับเนื้อหา นำเทคนิคการสอนไปใช้ให้ถูกวิธี 


การประเมิน
ประเมินตนเอง -  ยังเขียนแผนไม่ชัดเจนมาก ต้องคิดให้มันลึกกว่านี้ และเขียนเป็นลำดับเป็นระบบ ต้องใช้กระบวนการคิดให้ดีกว่านี้เวลาจะเขียนแผนการสอน

ประเมินเพื่อน - เพื่อนมีความช่วยเหลือกันดีภายในกลุ่ม มีความรับผิดชอบ ส่วนกลุ่มที่ออกมานำเสนอได้เห็นทั้งข้อดีและข้อบกพร่อง เพื่อที่จะนำมาเป็นเกณฑ์ในการปรับแผนของตนเอง

ประเมินอาจารย์ - ให้คำแนะนำในการเขียนแผนของแต่ละกลุ่ม เพื่อให้แผนนั้นสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และแนะแนวทางการเขียนได้เข้าใจไม่ซับซ้อน

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 11

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 11

วันที่ 16 มกราคม 2557
เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
.....................................................

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

          วันนี้อาจารย์ให้ทุกคนออกมานำเสนอสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ทุกคนได้คิดไว้แล้วนั้น 
อาจารย์ก็จะแนะนำในสิ่งที่ควรรู้ ควรนำไปปรับใช้กับเด็กๆได้อย่างเหมาะสมตามสื่อที่เราจะทำหรือประดิษฐ์
ขึ้นมา


กิจกรรมในวันนี้ 

กิจกรรมแรก
       
      สื่อมีชื่อว่า รูปทรงลงรู

วัตถุประสงค์
1.เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงต่างๆ
2.เด็กได้รู้เรื่องจำนวนนับ
3.เด็กนำสื่อรูปทรงใส่ลงรูได้ถูกต้องตามแบบที่มีไว้ได้
4.เด็กรู้จักแก้ปัญหาระหว่างเล่นสื่อคณิตศาตร์ได้

การดำเนินกิจกรรม
สื่อนี้ถ้าเราสอนแล้วเราจะสอนให้เด็กได้รู้เรื่องรูปทรง รูปทรงนี้มีชื่อว่าอย่างไร เมื่อสอนเสร็จอาจจะมี
คำถามให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นได้ และอาจจะให้เด็กมามีส่วนร่วมในการใส่รูปทรงให้ลงรูที่เจาะตาม
จำนวนนับ เราสาสมารถสอนเรื่องรูปทรงและเรื่องจำนวนนับไปพร้อมกันได้ คือสามารถเชื่อมโยงได้ขณะ
ทำกิจกรรม และหลังจากนั้นให้เด็กได้เล่นอิสระเพื่อดูหรือสังเกตพฤติกรรมระหว่างที่เด็กเล่นหรือปฏิบัติ 
ครูก็คอยจดบันทึกได้ 

อุปกรณ์ในการทำสื่อ
1. ตัวรูปทรง ทำจากวัสดุคือ ไม้อัดหนา (ที่ไม่ได้ใช้แล้ว) 
2. ตัวฐาน ใช้ไม้กระดานบาง
3. ตัวตั้งฐานสำหรับให้เด็กเสียบลงตามรู จะใช้ไม้กลอง
4. การเจาะรู ใช้สว่านเจาะขนาดมีความกว้างพอสำหรับเสียบกับไม้กลอง 
5. สีสเปรย์ สำหรับพ่นผลงาน
6. การร่างสื่อ
-ดินสอ
-ไม้บรรทัด
-แก้ว

คำแนะนำในการทำสื่อ
ต้องกำหนดจุดประสงค์ตามสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาตร์และสามารถนำสื่อไปประยุกต์ได้หลายด้าน
และสื่อควรทำจากวัสดุเหลือใช้ เพื่อเป็นการบูรณาการความคิดสร้างรรค์ในการใช้สิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว
และสิ่งสำคัญเราสามารถประหยัดงบได้โดยมีผลงานที่สามารถสอนได้ดี

กิจกรรมที่สอง 
      เป็นการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาตร์

การนำไปประยุกต์ใช้..

เราสามารถใช้ความคิดของเราประดิษฐ์สื่อขึ้นมาเพื่อนำไปสอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ แต่เด็ก
ต้องสามารถได้รับความรู้จากสื่อที่เราทำด้วย ส่วนเรื่องการเขียนแผนการสอน ทำให้ได้รู้วิธีในการเขียน
อย่างถูกหลักการและถูกต้องต่อสิ่งที่เราจะสอนนั่นเอง สิ่งสำคัญคือต้องรู้หลักนั่นเอง


การประเมิน
ประเมินตนเอง -  เข้าใจในการทำสื่อมากขึ้น ได้ใช้ความสามารถที่มีในการสร้างผลงาน และามารถเขียน
แผนได้

ประเมินเพื่อน - เพื่อนนำเสนอสื่อได้ดี และมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมาก

ประเมินอาจารย์ -  ให้คำแนะนำในการสร้างสื่อที่ดีและเหมาะสมแก่นักศึกษา และให้แนวทางในการเขียน
แผนได้อย่างเข้าใจอีกด้วย

วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 10

วันที่ 9 มกราคม 2557
เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
......................................................

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

สาระได้มา 2 ช่องทาง
1. ครูผู้สอนเป็นคนกำหนด
2. เด็กเป็นคนกำหนด (เพราะเด็กจะอยากรู้)

วันนี้ทบทวนงานกลุ่มที่แบ่งให้ไปทำในเรื่องของสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ และ ออกมานำเสนอตามลำดับ ซึ่งมีทั้งหมด 4 กลุ่ม  จะมีสาระที่ 2-5  ดังนี้...

สาระที่ 2 การวัด (เพิ่มเติมจากส่วนที่เพื่อนนำเสนอ)
- วัดเพื่อหาค่าต่างๆ ที่เราต้องการที่จะหาซึ่งออกมาเป็นตัวเลข
- เมื่อวัดหาค่าเสร็จแล้ว เราต้องมีเครื่องมือ สมมติว่าวัดความยาวถ้าเครื่องมือไม่เป็นทางการ เช่น คืบมือ ฝ่าเท้า ถ้าเป็นเครื่องมือกึ่งทางการ เช่น เชือก เราสามารถตัดเชือกให้เท่ากันได้ และเครื่องมือที่เป็นทางการ เช่น ไม้เมตร สายเมตร เป็นต้น เราจะให้เด็กรู้จักการใช้เครื่องมือให้เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอน

สาระที่ 3 เรขาคณิต (เพิ่มเติมจากส่วนที่เพื่อนนำเสนอ)
- ควรสอนทีละรูปทรง
- เด็กสามารถเรียกรูปทรงนั้นได้ เมื่อเห็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัว
- ทิศทางอาจจะสอนจากการสร้างเหตุการณ์ตรงนั้น
- อาจจะถามเด็กๆมองเห็นอะไรที่เหมือนกับรูปทรงนั้นบ้าง ให้เด็กได้มองรอบๆตัวของเด็ก ให้เขาได้ฝึกทักษะการสังเกตไปด้วย ซึ่งบางทีสื่อหรืออุปกรณ์เราไม่จำเป็นจะต้องเตรียมมาก็ได้ เพื่อที่เด็กจะได้ประสบการณ์ และ ได้เชื่อมโยงกับสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว

สาระที่ 4 พีชคณิต  (เพิ่มเติมจากส่วนที่เพื่อนนำเสนอ)
- ควรจะมีอีกชุดหนึ่งให้เด็กได้เห็นแบบรูป ได้อย่างชัดเจน และถูกต้อง

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น (เพิ่มเติมจากส่วนที่เพื่อนนำเสนอ)
- เวลาจะเปรียบเทียบควรจะให้เด็กนับ จับคู่ 1 ต่อ 1 ให้เห็นได้อย่างชัดเจน และเด็กก็ได้ฝึกการนับเลขได้ด้วย

สิ่งที่ควรคำนึงถึง

           สิ่งที่ใช้สอนหรือสาระสำคัญ เราจะไม่เน้นเนื้อหา เราเชื่อในทฤษฎีพัฒนาการ เด็กต้องเรียนรู้จากประสบการณ์และได้เห็นจริง เนื้อหาจะหาเมื่อไรก็ได้ ถ้าเรารู้จักใช้ความคิด

กิจกรรมในวันนี้ 

             เป็นการจับกลุ่ม 5 คน แตก my mapping เป็นเนื้อหา แต่ละเนื้อหาย่อมมีหัวข้อกำกับเสมอ ยกตัวอย่างเช่น
- ลักษณะ
- ส่วนประกอบ
- ประโยชน์หรือการใช้งาน
- โทษหรือข้อจำกัด
- วิธีการดูแลรักษา

จากหัวข้อกำหนดแสดงให้เป็น 5 วันในการจัดการเรียนการสอน เมื่อทำเสร็จให้แต่ละคนในกลุ่มแบ่งงานกัน ว่าใครจะสอนวันไหนตามแผนการเรียนการสอนของตนเองตามหัวข้อที่ได้เลือกไว้ 

แบบผังความคิดของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอในวันนี้..

กลุ่ม 1 ไข่


กลุ่ม 2 ไก่

กลุ่ม 3 อาหาร 5 หมู่

กลุ่ม 4 ส้ม



การประเมิน
ประเมินตนเอง - สนุกกับการคิดงานในส่วนของการทำกิจกรรม เพราะมันเป็นความคิดที่เราสามารถโต้แย้งกับเพื่อนได้ ทำให้การเรียนในครั้งนี้สนุกเพลิดเพลินพร้อมได้รับความรู้อีกด้วย

ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆ ได้ช่วยกันคิดและมีข้อเสนอแนะร่วมกันได้ดีมาก ต่างคนต่างมีส่วนร่วมและรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง

ประเมินอาจารย์ - อาจารย์ให้คำแนะนำในการแก้ไขในส่วนที่นำเสนองานของเพื่อนแต่ละคน ทำให้เพื่อนๆได้นำความรู้ที่ได้ในวันนี้จากคำแนะนำของอาจารย์กลับไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องมากขึ้น




บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 9

วันที่ 2 มกราคม 2557
เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
......................................................

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

 วันนี้ได้ทบทวนเรื่องสาระทางคณิตศาสตร์มีทั้งหมด 6 สาระการเรียนรู้และเชื่อมโยงเข้าสู่การสอนโดยเป็นกิจรรม 6 กิจกรรมที่ครูควรจัดให้กับเด็กปฐมวัย

1.     กิจกรรมเคลื่อนไหวตามจังหวะ  

                         เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายตามจังหวะอย่างอิสระ โดยใช้เสียงเพลง คำคล้องจอง เครื่องเคาะจังหวะ และอุปกรณ์อื่นๆประกอบการเคลื่อนไหว

2.     กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  

                          เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึกความคิกริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยใช้ศิลปะ

3.     กิจกรรมเล่นเสรี 

                          เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอิสระตามศูนย์การเรียน ที่จัดไว้ ภายในศูนย์เด็กเล็กเช่น ศูนย์บล็อก ศูนย์หนังสือ ศูนย์ร้านค้า ศูนย์บ้าน เป็นต้น

4.     กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง 

                          เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเพื่อออกกำลังกายเคลื่อนไหวร่างกาย และแสดงออกอย่างอิสระ

5.     กิจกรรมเกมการศึกษา 

                          เป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนาสติปัญญา มีกฎเกณฑ์กติกาง่ายๆ

6.     กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 

                        เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่      


กิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมนี้มีอยู่ในหลักสูตรการศึกษา แต่ในการจัดกิจกรรมครูควรคำนคำนึงถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กด้วย 


คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเคลื่อนไหวตามจังหวะ  เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ รูปทรงและทิศทางของการเคลื่อนไหว สัญลักษณ์  การนับจำนวน เรียนรู้แบบรูป และการจับคู่แบ่งกลุ่ม


คณิตศาสตร์กับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  เด็กได้ออกแบบท่าทางรูปทรง ทิศทางการเคลื่อนไหวเด็กได้คิดสร้างสรรค์และเหมาะสมกับพัฒนาการ 


คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเล่นเสรี  เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรี ตามความสนใจและความต้องการของเด็กทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย ให้เด็กรู้จักคิดวางแผนและตัดสินใจในการทำกิจกรรม


คณิตศาสตร์กับกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เด็กเรียนรู้เรื่องการนับ ความช้า เร็ว ความสูง ขนาด ทิสทางการแกว่ง เช่น การเล่นชิงช้า 


คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเกมการศึกษา  

1. เกมจับคู่- จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน- จับคู่ภาพเงา- จับคู่ภาพสัมพันธ์- จับคู่ภาพชิ้นส่วนที่หายไป- จับคู่ภาพกับโครงร่างฯลฯ
2. เกมภาพตัดต่อ (ที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียน )
3. เกมจัดหมวดหมู่
4. เกมโดมิโน
5. เกมเรียงลำดับ

คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เน้นให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงและมีโอกาสค้นพบด้วยตนเองให้มากที่สุด ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับระยะเวลา


การประเมินผล : ไม่มี เนื่องจากเป็นการมาตามงานเป็นการมีความรับผิดชอบส่วนบุคคลเนื่องจากวันนี้ไม่ได้มาเรียนเพราะไม่สบาย จึงทำให้มาเรียนไม่ได้