ยินดีต้อนรับ สู่บล็อกของ นางสาววรรวิภา โพธิ์งาม เอกการศึกษาปฐมวัย วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ค่ะ

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 4


วันที่ 28 พฤศจิกายน 2556
เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
......................................................

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

      การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาตร์ให้เด็กจะต้องสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ก็คือ เล่น / สังเกต / จดจำ / เลียนแบบ เด็กจะต้องมีการลงมือทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5

       การนับไม่จำเป็นต้องนับ 1 2 3 4 ต้องให้เด็กมานั่งเขียนนั่งอ่านเหมือนนกแก้ว เราจะเน้นสอนสิ่งที่มีผลกระทบ สิ่งที่เกี่ยวข้อง สิ่งใกล้ตัว เช่น การใช้ศิลปะเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นการวาดรูปสัตว์ เราจะำด้การนับ การคำนวณมาจากขาของสัตว์ ตา หู ฯลฯ
        ตัวอย่างเช่น วาดจรเข้ ใส่รองเท้าให้จรเข้ จรเข้มีขา 4 ขา ใส่รองเท้าให้ 4 ข้าง ก็จะเป็นทั้งหมด 2 คู่ ให้เด็กได้รู้ศัพท์ทางคณิตศาสตร์ไปด้วย เช่น ข้าง/คู่
         ทุกอย่างล้วนนำคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตได้ตลอดเวลา เราจะให้ประสบการณ์ในเรื่องของการนับ เราสามารถนำมาสัมพันธ์กันผ่านศิลปะสร้างสรรค์ได้


สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ 
                     สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็กผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระในกรอบ มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน จึงรวบรวมสาระทางคณิตศาสตร์ระดับเด็กปฐมวัย 

      สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ                 
1.จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
2.จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า...เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ
3.ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
4.ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
5.สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี10 ตัว ดังนี้ 
0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
6.จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือ น้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
7.การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย 
8.การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆจะต้องกำหนัดสิ่งที่เริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ
9.ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า...เป็นการบอกอันดับที่ 
10.การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆสองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
11. การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ 

และจะมีการทำกิจกรรมในห้องเรียน คือ 
กิจกรรมแรก เมื่อเริ่มเรียนอาจารย์แจกกระดาษให้คนละแผ่น ให้วาดรูปสัตว์ที่มีขา ซึ่งข้าพเจ้าได้วาดจระเข้ สวยงามมาก
กิจกรรมที่สอง จับคู่ แล้วให้คิดว่าในสาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมอะไรได้บ้าง แล้วก็ให้ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน ผลที่ออกมาอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ



ก่อนจะจบคาบเรียนอาจารย์ฝากเพลงส่งท้ายให้ด้วย ดังนี้

                        เพลงเข้าแถว
      เข้าแถว เข้าแถว           อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือน                  เดินตามเพื่อนให้ทัน
ระวังเดินชนกัน                   เข้าแถว พลันว่องไว

                       เพลงจัดแถว 
       สองมือเราชูตรง           แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อมาย้ายมาข้างหน้า            แล้วเอาลงมาในท่ายืนตรง

                       เพลงซ้าย-ขวา
       ยืนให้ตัวตรง               ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน                   หันตัวไปทางนั้นแหละ

                    เพลงพาเหรดตัวเลข  (ดร. แพง ชิณวงศ์ / ดร. สุภาพร เทพยสุวรรณ)
       มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน
1 2 3 4 5 6 7 8 9 แล้วก็10
ซ้ายขวาซ้าย  ซ้ายขวาซ้าย  ชูมือขึ้นข้างบน
หมุนมือลงข้างล่าง  ซ้ายขวาซ้าย  ซ้ายขวาซ้าย
มาพวกเรามาเดินเรียงแถว  พร้อมกัน (ซ้ำ 2รอบ)



การประเมิน
ประเมินตนเอง - เข้าใจเนื้อหาที่เรียนและสนุกสนานกับการร้องเพลงและกิจกรรมในห้อง โดยตนเองได้มีส่วนร่วมต่างๆ

ประเมินเพื่อน - เพื่อนทุกคนมีส่วนร่วมในการตอบคำถามดีมาก และแนวคิดเพื่อนๆก็ดีเช่นกัน ทำให้สื่อถึงการจัดกิจกรรมได้ดี

ประเมินอาจารย์ - อาจารย์สอนสนุก ไม่น่าเบื่อ มีการสอดแทรกความรู้ปนเสียงหัวเราะ ความสนุกสนานไปกับบทเพลงที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น