ยินดีต้อนรับ สู่บล็อกของ นางสาววรรวิภา โพธิ์งาม เอกการศึกษาปฐมวัย วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 2

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2556
เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
......................................................

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

       วันนี้เป็นการสอนโดยยกตัวเลขมาประกอบก่อนเข้าเนื้อหา จะมีเลข 350 158 60 50 4915481 จะเป็นอะไรเกี่ยวข้องกับอะไรได้บ้าง ซึ่งตัวเลขทั้งหมดที่เห็นทุกคนต่างมีคำตอบได้หลายอย่าง ดังเช่น 350 อาจจะเป็นสายรถเมล์ เงิน ระยะทาง เลขที่บ้าน ฯลฯ ต่อมา 60 อาจเป็น อายุ เวลา น้ำหนัก ส่วนสูง ทะเบียนรถ ซึ่งจะเห็นความแตกต่างระหว่างสองตัวเลข ซึ่งถ้าเรามีประสบการณ์เดิมอยู่แล้วเราจะไม่ตอบ 350 น้ำหนัก เพราะมันเป็นไปไม่ได้ เมื่อเรามีทักษะเดิมอยู่นั้นเป็นเรื่องที่ดี ตัวเลขทั้งหมดนี้สุดท้ายแล้วล้วนเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวอาจารย์ ซึ่งกิจกรรมนี้ถือว่าดีต่อการเข้าสู่การเรียนการสอนได้ดีมาก เพราะทุกคนล้วนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นทำให้ครูผู้สอนได้เห็นถึงทักษะของเด็กแต่ละคน ว่าที่จริงแล้วเราจะเสริมในส่วนใดให้กับพวกเขานั่นเอง และกิจกรรมนี้เป็นการจัดการรียนการสอนที่ใช้การมีส่วนร่วม มีทักษะทางสังคม สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก เช่นตัวเลขน้อยๆ เพื่อส่งเสริมประสบการณ์เดิมของเด็กนั่นเอง
       ประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับตัวเลขที่เราเคยเห็น / ความเป็นไปได้ / มาตรฐานความรู้เดิม มักจะมีกรอบในการเลือกการตัดสินใจ บางตัวเลขอาจแทนค่าแทนเวลา ระยะทาง เลขเหล่านี้ก็จะมีหน่วยที่แตกต่างกันออกไป ค่าที่ใช้แทนเวลา แทนเงิน ฯลฯ จะมีการคำนวณอยู่ตลอดเวลา และเอาค่าเหล่านั้นมาเปรียบเทียบ โดยใช้หลักของคณิตศาสตร์มาเชื่อมโยงและใช้ในชีวิตประจำวัน

เนื้อหาที่เรียนกันในวันนี้ คือ ....

ความหมายของคณิตศาตร์

          หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การนับ การคำนวณ การประมาณ ล้วนแต่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์ ส่วนเด็กจะใช้คณิตศาตร์อย่างง่ายๆ จากความคิดของตนเอง แล้วค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง (ทุกสิ่งอย่างอยู่บนพื้นฐานและพัฒนาการของเด็ก)

ความสำคัญของคณิตศาสตร์

          เป็นพื้นฐานที่ช่วยให้เด็กรู้จักการแก้ไขปัญหา มีความสามารถ ในการคิดคำนวณและอื่นๆ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ช่วยให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาตร์เบื้องต้น ได้แก่ การรู้จักสังเกต การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การเพิ่มขึ้นและลดลง ช่วยขยายประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาตร์ให้สอดคล้องเป็นลำดับจากง่ายไปยาก ช่วยให้เด็กเกิดความเข้าใจในความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ สามารถใช้ภาษาเกี่ยวกับวิชาคณิตศาตร์ได้อย่างถูกต้อง

แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาตร์

1. ศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตร เพื่อให้ทราบวัตถุประสงค์ ขอบข่ายของเนื้อหา วิธีสอน วิธีการจัดกิจกรรม การใช้สื่อการเรียนการสอน และการประเมินผล เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้อง
2. ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆ ความต้องการและความสามารถของเด็กปฐมวัย เพื่อจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการ ความต้องการ ความสนใจ และความสามารถของเด็ก
3. จัดหาสื่อที่เด็กสามารถจับต้องได้ให้เพียงพอ โดยใช้ของจริง ของจำลอง รูปภาพจากสิ่งแวดล้อมที่เด็กคุ้นเคย สื่อที่ใช้แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ วัสดุที่ทำขึ้นเอง วัสดุราคาถูก วัสดุเหลือใช้ และวัสดุท้องถิ่น
4. จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็ก
5. เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ได้ลงมือกระทำ ได้ใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ โดยมีครูดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา
6. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้แก้ปัญหา ใช้ความคิดสร้างสรรค์ มีอิสระในการคิด ค้นคว้าหาเหตุผลด้วยตนเอง
7. จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความแตกต่าง
8. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและบ้าน เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ของเด็ก
9. จัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนคณิตศาสตร์

กิจกรรมปิดท้ายที่เกี่ยวข้องกับวิชาคณิตศาตร์ในวันนี้คือ การจัดกลุ่ม แบ่งออกเป็น 5 คน/กลุ่ม โดยให้ทำ my map ในหัวข้อของแต่ละกลุ่มที่ได้รับ และนำมาสรุปในความคิดของตนเอง และของกลุ่มโดยของกลุ่มจะเป็นการรวบรวมความคิดของแต่ละคนให้อยู่ในแผ่นเดียว เมื่อทุกกลุ่มทำเสร็จแล้ว ก็จะมีหัวหน้าของกลุ่มที่อยู่ดูแลกลุ่มและที่เหลืออีกสี่คนจะเวียนไปรับข้อมูลของแต่ละกลุ่มแล้วนำมาสรุปให้หัวหน้ากลุ่มของตนเองเพื่อนำเสนอภายในอาทิตย์หน้า กิจกรรมนี้ได้ทั้งกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม การเสริมความรู้ความเข้าใจให้กับตนเองและผู้อื่น ซึ่งเราสามารถนำไปปรับใช้ได้ เพราะเราถือว่าได้มีทักษะการรทำงานเป็นระบบไปแล้ว

ข้อมูลเพิ่มเติม

โทรทัศน์ครู.


ในคลิปนี้จะเน้นเรื่องการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาตร์โดยใช้กิจกรรมกลางแจ้งมามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จะเห็นได้ว่าเด็กจะได้ทั้งความรู้ใหม่ ที่มีความรู้เดิมช่วยย้ำอยู่ ดังเช่นกิจกรรมที่ปาเป้า ในกิจกรรมนี้จะช่วยให้เด็กได้เห็นตัวเลข ได้พูด ได้มอง และจดจำ เพราะครูจะมีส่วนร่วมโดยการถามว่าเด็กชอบเลขอะไร เมื่อเด็กชี้ ครู้ผู้สอนก็จะนำพูดและให้เด็กพูดตาม โดยมีการบวกเลขเสริมเข้าไปด้วย ซึ่งถือว่าได้เพิ่มทักษะให้กับเด็กและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้เกือบครบทุกด้านเลยก็ว่าได้..




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น