เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
......................................................
สิ่งที่ได้รับในวันนี้
คำถามก่อนที่จะเข้าสู่การเรียนการสอนในวันนี้ การทำกิจกรรมในห้อง ฝึกให้เรามีแนวคิด สะท้อนวิธีการสอนกับเด็ก ต้องได้ลงมือปฏิบัติจริงและการทำกิจกรรมในครั้งนี้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ตรงไหน? กิจกรรมที่เราทำคือ พับกระดาษเป็น 8 ช่อง ถ้ากระดาษเหลือก็แสดงว่าเพื่อนไม่มา และไม่มากี่คน จากกิจกรรมนี้เพียงเท่านี้เราสามารถสื่อให้เห็นถึงหลักวิชาของคณิตศาตร์ได้โดยอัติโนมัติเลย และนำไปใช้กับเด็กได้จริง หรือในบางครั้งถ้ามีเหตุการณ์กะทันหันเราก็สามารถนำมาบูรณาการนำมาสอนได้ แต่เราต้องรู้จักประยุกต์ นำมาสู่การเรียนรู้ โดยที่คำนึงในที่ตัวเด็กสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง
วันนี้มีเพลงเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์มาให้เพื่อนๆได้นำไปใช้ได้คะ
เพลงสวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณพ่อคุณแม่ ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า
จากเพลงๆนี้จะเห็นได้ว่าเกี่ยวข้องกับคณิตศาตร์จริงๆ คือการเรียงลำดับเหตุการณ์ แต่ละช่วงเวลา เราทำอะไรบ้าง จังหวะ โทนเสียง แต่ตอนร้องครูต้องอ่านให้เด็กฟังก่อน แล้วให้เด็กอ่านตามทีละวรรค จากนั้นใส่ทำนองหรือจังหวะ ให้เด็กค่อยๆพูดและร้องตาม เพื่อให้เด็กจำได้ เพราะเด็กยังไงก็ยังอ่านไม่ออก และที่ทำวิธีนี้ เพื่อที่เด็กจะได้มีการเรียนรู้ทางด้านภาษาอีกด้วย เราจะเห็นได้ชัดเลยว่าคณิตศาตร์เป็นเครื่องมือที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงๆ ดังนั้นผู้เป็นครูควรจะหาเทคนิควิธีต่างๆหรือจะเป็นกิจกรรมที่จัดในแบบการสร้างเสริมประสบการณ์ และการร้องเพลงต้องร้องอย่างมีเป้าหมาย ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ที่เด็กจะได้รับด้วย
เพลงสวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียน (ซ้ำ) หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย
เพลง 1 ปีมี 12 เดือน
1 ปี นั้นมี 12 เดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
1 สัปดาห์นั้นมี 7 วัน (ซ้ำ) อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ ลันลา ลันลา
เนื้อหาที่เรียนรู้ในวันนี้
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาตร์ในระดับปฐมวัย
1.การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับ ตั้งแต่ 1-10 หรือมากกว่านั้น
2.ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นเกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า
3.การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้า คู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน
4.การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆ ของสิ่งของว่าแตกต่างกันหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่างๆได้
5.การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักการใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า เป็นต้น
6.การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่งๆ ตามคำสั่งหรือตามกฏ เช่น จัดบล็อก 5 แท่ง มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั้นไปยาว
7.รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตามปกติแล้ว ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึก ตื้น กว้างและแคบ
8.การวัด มักให้เด็กลงมือด้วยตัวเอง ให้รู้จักความยาวและระยะทาง รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
เพลงสวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียน (ซ้ำ) หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย
เพลง 1 ปีมี 12 เดือน
1 ปี นั้นมี 12 เดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
1 สัปดาห์นั้นมี 7 วัน (ซ้ำ) อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ ลันลา ลันลา
เนื้อหาที่เรียนรู้ในวันนี้
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาตร์ในระดับปฐมวัย
1.การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับ ตั้งแต่ 1-10 หรือมากกว่านั้น
2.ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นเกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า
3.การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้า คู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน
4.การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆ ของสิ่งของว่าแตกต่างกันหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่างๆได้
5.การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักการใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า เป็นต้น
6.การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่งๆ ตามคำสั่งหรือตามกฏ เช่น จัดบล็อก 5 แท่ง มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั้นไปยาว
7.รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตามปกติแล้ว ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึก ตื้น กว้างและแคบ
8.การวัด มักให้เด็กลงมือด้วยตัวเอง ให้รู้จักความยาวและระยะทาง รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น