ยินดีต้อนรับ สู่บล็อกของ นางสาววรรวิภา โพธิ์งาม เอกการศึกษาปฐมวัย วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ค่ะ

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาที่ 6 ครั้งงที่ 5

วันที่ 12 ธันวาคม 2556
เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
......................................................

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

                     วันนี้อาจารย์สอนในสาระที่ 2-5 และสรุปเพื่อทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยจะมีการยกตัวอย่างพร้อมกิจกรรมที่ทำในห้องเรียน ซึ่งจะทำร่วมกัน หัวข้อที่นำก่อนเข้าสู๋การเรนียนการสอนคือ 
นาฬิกาสัมพันธ์กับชีวิต...
  • เด็กจะเรียนรู้เริ่มดูเข็มนาฬิกา มีให้เขียนเวลา ที่จริงแล้วเด็กจะยังไม่รู้เรื่อง แต่เราจะให้ประสบการณ์ ให้เด็กได้คุ้นเคยและรู้จักเชื่อมโยง และเพื่อให้เด็กได้รู้ว่านาฬิกาเป็นเครื่องบอกเวลานะ เป็นต้น
  • แบบรูปคืออะไร เช่น ตัวเลขของนาฬิกา 1-12 นั่นเอง
  • นาฬิกาเป็นเครื่องมือเรียนรู้จำนวนนับ ทรี่เพิ่มทีละหนึ่ง สัญลักษณ์ตัวเลขที่แทนเวลา ความแตกต่างเข็มสั้นเข็มยาว
  • คำศัพท์ทางคณิตศาตร์ เช้า กลางวัน เย็น กลางคืน (นาฬิกา)




การเรียนรู้ร่วมกับปฏิทิน
  • ใช้ปฏิทินเป็นการเพิ่ม ลด 
  • คำศัพท์เช่น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นต้น
  • ให้เด็กขีดเส้นเฉียง /    ลงในวันแรกของเดือนนั้นๆ ยกตัวอย่างเป็นเดือนมกราคม
  • ให้เด็กๆวาดรูปสามเหลี่ยม ในวันขึ้นปีใหม่ เด็กจะได้รู้วันสำคัญของเดือนนั้นไปด้วย
  • ให้เด็กๆวาดรูปเด็ก ในวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ซึ่งเป็นวันเด็ก
  • ให้เด็กวาดรูปหนังสือ ซึ่งเป็นวันครู
  • ให้เด็กๆ เขียนชื่อเพื่อนพร้อมรูปเค้ก ในวันคล้ายวันเกิด
นี่คือลักษณะการจัดกิจกรรมในการบูรณาการ ความสัมพันธ์ทั้งหลายซึ่งสามารถจัดได้หลายสาระ




สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์  มี 5 สาระ (ต่อจากครั้งที่แล้ว)
                     สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็กผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระในกรอบ มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน จึงรวบรวมสาระทางคณิตศาสตร์ระดับเด็กปฐมวัย 

      สาระที่ 2 การวัด
  • การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
  • การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
  • ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว ความสูงของสิ่งต่างๆ
  • การเรียงลำดับความยาว ความสูง อาจเรียงจกน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อยก็ได้
  • การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
  • หนักกว่า เบากว่า หนักเทากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
  • การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปหาน้อยก็ได้
  • การตวงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
  • ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตรของสิ่งต่างๆ
  • การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปหาน้อยก็ได้
  • เงินเหรียญและธนบัตร เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย
  • ตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ บอกค่าเงินเหรียญแต่ละเหรียญ
  • ตัวเลขที่อยู่บนธนบัตร บองค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ
  • บาท เป็นหน่วยของเงินไทย
  • เวลาแต่ละวันแบ่งเป็นสองช่วงใหญ่ๆ คือ กลางวันและกลางคืน
  • เช้า เที่ยง เย็น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ
  • หนึ่งสัปดาห์มีเจ็ดวัน เรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์ วันจันทร์วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และ วันเสาร์
       สาระที่ 3 เราขาคณิต
  • ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ข้างหลัง ระหว่าง ข้างซ้าย ข้างขวา ใกล้ ไกล เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทางของสิ่งต่างๆ
  • การจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกรวย ทรงกระบอก และรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูป
      สาระที่ 4 พีชคณิต
  • แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเราขาคณิต หรือสิ่งต่างๆ
      สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถามก็ได้
  • แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนสิ่งของต่างๆ อาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้


และจะมีการทำกิจกรรมในห้องเรียน คือ 
              การนำคณิตศาตร์ในเรื่องของรูปทรงต่างๆมาเข้าร่วมหรือนำมาประยุกต์กับกิจกรรมศิลปะ ...... :ซึ่งเราสามารถนำไปบูรณาการกับเด็กๆได้ 





  


  • ในภาพจะมีอุปกรณก็คือ ดินน้ำมัน และ ไม้เสียบลูกชิ้น
  • ในรูปภาพจะมีรูปทรงสามเหลี่ยมเรขาคณิต  รูปสามเหลี่ยมที่มีมิติ รูปสี่เหลี่ยมที่มีมิติ และห้าเหลี่ยมที่มีมิติ ที่มีมิติเรียกอีกอย่างว่า  พีระมิด

      จากกิจกรรมนี้ได้ใช้ทักษะและความรู้เดิมที่มีอยู่มาประยุกต์ร่วมกับคณิตศาตร์และศิลปะ ทำให้เกิดจินตนาการในการจะสร้างชิ้นงานขึ้นมา และสามารถไปใช้กับเด็กได้เพราะไม่ยากจนเกินไป

ก่อนจะจบคาบเรียนอาจารย์ฝากเพลงส่งท้ายให้ด้วย ดังนี้

                        เพลงขวดห้าใบ
      ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)    เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง   เว้นให้เด็กได้มีส่วนร่วม ให้เขาได้ตอบ
[ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ]
ขวดหนึ่งใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)    เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง  จะทำอย่างไรกันดี

                       เพลงนกกระจิบ
       นั่นนกบินมาลิบลิบ          นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา              6 7 8 9 10 ตัว

                       เพลงซ้าย-ขวา
       ยืนให้ตัวตรง               ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน                   หันตัวไปทางนั้นแหละ

                    เพลง บวก - ลบ
       บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ   ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ        ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ       หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ         ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

                    เพลง แม่ไก้ออกไข่
       แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน        หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
( ร้องเรื่อยๆจนกระทั่งถึง สิบ )



การประเมิน
ประเมินตนเอง - สนุกเพลิดเพลินและตั้งใจทำกิจกรรมมาก เพราะจะเป็นคนที่ชอบลงมือปฏิบัติมากกว่าการนั่งเรียนรู้โดยมองโปรเจ็กเตอร์

ประเมินเพื่อน - เพื่อนร่วมด้วยช่วยกันดีมากในการเสนอความคิดเห็นในการทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้การเรียนไม่นาเบื่อ

ประเมินอาจารย์ - อาจารย์มีการประยุกต์ มีแนวคิด และ แนะนำให้กับนักศึกษาทุกคนในเรื่องที่สอนในวันนี้ บางครั้งเด็กคิดไม่ทัน อาจารย์ก็ช่วย ทำให้นักศึกษามีแนวโน้มการเรียนรู้ที่ดีเพิ่มขึ้นในการฝึกการคิดและวิเคราะห์


วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 4


วันที่ 28 พฤศจิกายน 2556
เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
......................................................

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

      การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาตร์ให้เด็กจะต้องสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ก็คือ เล่น / สังเกต / จดจำ / เลียนแบบ เด็กจะต้องมีการลงมือทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5

       การนับไม่จำเป็นต้องนับ 1 2 3 4 ต้องให้เด็กมานั่งเขียนนั่งอ่านเหมือนนกแก้ว เราจะเน้นสอนสิ่งที่มีผลกระทบ สิ่งที่เกี่ยวข้อง สิ่งใกล้ตัว เช่น การใช้ศิลปะเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นการวาดรูปสัตว์ เราจะำด้การนับ การคำนวณมาจากขาของสัตว์ ตา หู ฯลฯ
        ตัวอย่างเช่น วาดจรเข้ ใส่รองเท้าให้จรเข้ จรเข้มีขา 4 ขา ใส่รองเท้าให้ 4 ข้าง ก็จะเป็นทั้งหมด 2 คู่ ให้เด็กได้รู้ศัพท์ทางคณิตศาสตร์ไปด้วย เช่น ข้าง/คู่
         ทุกอย่างล้วนนำคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตได้ตลอดเวลา เราจะให้ประสบการณ์ในเรื่องของการนับ เราสามารถนำมาสัมพันธ์กันผ่านศิลปะสร้างสรรค์ได้


สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ 
                     สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็กผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระในกรอบ มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน จึงรวบรวมสาระทางคณิตศาสตร์ระดับเด็กปฐมวัย 

      สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ                 
1.จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
2.จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า...เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ
3.ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
4.ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
5.สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี10 ตัว ดังนี้ 
0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
6.จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือ น้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
7.การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย 
8.การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆจะต้องกำหนัดสิ่งที่เริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ
9.ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า...เป็นการบอกอันดับที่ 
10.การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆสองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
11. การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ 

และจะมีการทำกิจกรรมในห้องเรียน คือ 
กิจกรรมแรก เมื่อเริ่มเรียนอาจารย์แจกกระดาษให้คนละแผ่น ให้วาดรูปสัตว์ที่มีขา ซึ่งข้าพเจ้าได้วาดจระเข้ สวยงามมาก
กิจกรรมที่สอง จับคู่ แล้วให้คิดว่าในสาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมอะไรได้บ้าง แล้วก็ให้ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน ผลที่ออกมาอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ



ก่อนจะจบคาบเรียนอาจารย์ฝากเพลงส่งท้ายให้ด้วย ดังนี้

                        เพลงเข้าแถว
      เข้าแถว เข้าแถว           อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือน                  เดินตามเพื่อนให้ทัน
ระวังเดินชนกัน                   เข้าแถว พลันว่องไว

                       เพลงจัดแถว 
       สองมือเราชูตรง           แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อมาย้ายมาข้างหน้า            แล้วเอาลงมาในท่ายืนตรง

                       เพลงซ้าย-ขวา
       ยืนให้ตัวตรง               ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน                   หันตัวไปทางนั้นแหละ

                    เพลงพาเหรดตัวเลข  (ดร. แพง ชิณวงศ์ / ดร. สุภาพร เทพยสุวรรณ)
       มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน
1 2 3 4 5 6 7 8 9 แล้วก็10
ซ้ายขวาซ้าย  ซ้ายขวาซ้าย  ชูมือขึ้นข้างบน
หมุนมือลงข้างล่าง  ซ้ายขวาซ้าย  ซ้ายขวาซ้าย
มาพวกเรามาเดินเรียงแถว  พร้อมกัน (ซ้ำ 2รอบ)



การประเมิน
ประเมินตนเอง - เข้าใจเนื้อหาที่เรียนและสนุกสนานกับการร้องเพลงและกิจกรรมในห้อง โดยตนเองได้มีส่วนร่วมต่างๆ

ประเมินเพื่อน - เพื่อนทุกคนมีส่วนร่วมในการตอบคำถามดีมาก และแนวคิดเพื่อนๆก็ดีเช่นกัน ทำให้สื่อถึงการจัดกิจกรรมได้ดี

ประเมินอาจารย์ - อาจารย์สอนสนุก ไม่น่าเบื่อ มีการสอดแทรกความรู้ปนเสียงหัวเราะ ความสนุกสนานไปกับบทเพลงที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาตร์

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 3

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2556
เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
......................................................

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

คำถามก่อนที่จะเข้าสู่การเรียนการสอนในวันนี้ การทำกิจกรรมในห้อง ฝึกให้เรามีแนวคิด สะท้อนวิธีการสอนกับเด็ก ต้องได้ลงมือปฏิบัติจริงและการทำกิจกรรมในครั้งนี้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ตรงไหน? กิจกรรมที่เราทำคือ พับกระดาษเป็น 8 ช่อง ถ้ากระดาษเหลือก็แสดงว่าเพื่อนไม่มา และไม่มากี่คน จากกิจกรรมนี้เพียงเท่านี้เราสามารถสื่อให้เห็นถึงหลักวิชาของคณิตศาตร์ได้โดยอัติโนมัติเลย และนำไปใช้กับเด็กได้จริง หรือในบางครั้งถ้ามีเหตุการณ์กะทันหันเราก็สามารถนำมาบูรณาการนำมาสอนได้ แต่เราต้องรู้จักประยุกต์ นำมาสู่การเรียนรู้ โดยที่คำนึงในที่ตัวเด็กสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

วันนี้มีเพลงเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์มาให้เพื่อนๆได้นำไปใช้ได้คะ

เพลงสวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว 
กินอาหารของดีมีทั่ว หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณพ่อคุณแม่  ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน  หลั่นล้า  หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า

จากเพลงๆนี้จะเห็นได้ว่าเกี่ยวข้องกับคณิตศาตร์จริงๆ คือการเรียงลำดับเหตุการณ์ แต่ละช่วงเวลา เราทำอะไรบ้าง จังหวะ โทนเสียง แต่ตอนร้องครูต้องอ่านให้เด็กฟังก่อน แล้วให้เด็กอ่านตามทีละวรรค จากนั้นใส่ทำนองหรือจังหวะ ให้เด็กค่อยๆพูดและร้องตาม เพื่อให้เด็กจำได้ เพราะเด็กยังไงก็ยังอ่านไม่ออก และที่ทำวิธีนี้ เพื่อที่เด็กจะได้มีการเรียนรู้ทางด้านภาษาอีกด้วย เราจะเห็นได้ชัดเลยว่าคณิตศาตร์เป็นเครื่องมือที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงๆ ดังนั้นผู้เป็นครูควรจะหาเทคนิควิธีต่างๆหรือจะเป็นกิจกรรมที่จัดในแบบการสร้างเสริมประสบการณ์ และการร้องเพลงต้องร้องอย่างมีเป้าหมาย ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ที่เด็กจะได้รับด้วย

เพลงสวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียน (ซ้ำ)  หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย

เพลง 1 ปีมี 12 เดือน
1 ปี นั้นมี 12 เดือน   อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
1 สัปดาห์นั้นมี 7 วัน (ซ้ำ)   อาทิตย์   จันทร์  อังคาร  พุธ  พฤหัส ศุกร์ เสาร์ ลันลา ลันลา

เนื้อหาที่เรียนรู้ในวันนี้

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาตร์ในระดับปฐมวัย
1.การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับ ตั้งแต่ 1-10 หรือมากกว่านั้น
2.ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นเกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า
3.การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้า คู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน
4.การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆ ของสิ่งของว่าแตกต่างกันหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่างๆได้
5.การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักการใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า เป็นต้น
6.การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่งๆ ตามคำสั่งหรือตามกฏ เช่น จัดบล็อก 5 แท่ง มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั้นไปยาว
7.รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตามปกติแล้ว ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึก ตื้น กว้างและแคบ
8.การวัด มักให้เด็กลงมือด้วยตัวเอง ให้รู้จักความยาวและระยะทาง รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน


วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 2

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2556
เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
......................................................

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

       วันนี้เป็นการสอนโดยยกตัวเลขมาประกอบก่อนเข้าเนื้อหา จะมีเลข 350 158 60 50 4915481 จะเป็นอะไรเกี่ยวข้องกับอะไรได้บ้าง ซึ่งตัวเลขทั้งหมดที่เห็นทุกคนต่างมีคำตอบได้หลายอย่าง ดังเช่น 350 อาจจะเป็นสายรถเมล์ เงิน ระยะทาง เลขที่บ้าน ฯลฯ ต่อมา 60 อาจเป็น อายุ เวลา น้ำหนัก ส่วนสูง ทะเบียนรถ ซึ่งจะเห็นความแตกต่างระหว่างสองตัวเลข ซึ่งถ้าเรามีประสบการณ์เดิมอยู่แล้วเราจะไม่ตอบ 350 น้ำหนัก เพราะมันเป็นไปไม่ได้ เมื่อเรามีทักษะเดิมอยู่นั้นเป็นเรื่องที่ดี ตัวเลขทั้งหมดนี้สุดท้ายแล้วล้วนเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวอาจารย์ ซึ่งกิจกรรมนี้ถือว่าดีต่อการเข้าสู่การเรียนการสอนได้ดีมาก เพราะทุกคนล้วนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นทำให้ครูผู้สอนได้เห็นถึงทักษะของเด็กแต่ละคน ว่าที่จริงแล้วเราจะเสริมในส่วนใดให้กับพวกเขานั่นเอง และกิจกรรมนี้เป็นการจัดการรียนการสอนที่ใช้การมีส่วนร่วม มีทักษะทางสังคม สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก เช่นตัวเลขน้อยๆ เพื่อส่งเสริมประสบการณ์เดิมของเด็กนั่นเอง
       ประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับตัวเลขที่เราเคยเห็น / ความเป็นไปได้ / มาตรฐานความรู้เดิม มักจะมีกรอบในการเลือกการตัดสินใจ บางตัวเลขอาจแทนค่าแทนเวลา ระยะทาง เลขเหล่านี้ก็จะมีหน่วยที่แตกต่างกันออกไป ค่าที่ใช้แทนเวลา แทนเงิน ฯลฯ จะมีการคำนวณอยู่ตลอดเวลา และเอาค่าเหล่านั้นมาเปรียบเทียบ โดยใช้หลักของคณิตศาสตร์มาเชื่อมโยงและใช้ในชีวิตประจำวัน

เนื้อหาที่เรียนกันในวันนี้ คือ ....

ความหมายของคณิตศาตร์

          หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การนับ การคำนวณ การประมาณ ล้วนแต่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์ ส่วนเด็กจะใช้คณิตศาตร์อย่างง่ายๆ จากความคิดของตนเอง แล้วค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง (ทุกสิ่งอย่างอยู่บนพื้นฐานและพัฒนาการของเด็ก)

ความสำคัญของคณิตศาสตร์

          เป็นพื้นฐานที่ช่วยให้เด็กรู้จักการแก้ไขปัญหา มีความสามารถ ในการคิดคำนวณและอื่นๆ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ช่วยให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาตร์เบื้องต้น ได้แก่ การรู้จักสังเกต การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การเพิ่มขึ้นและลดลง ช่วยขยายประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาตร์ให้สอดคล้องเป็นลำดับจากง่ายไปยาก ช่วยให้เด็กเกิดความเข้าใจในความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ สามารถใช้ภาษาเกี่ยวกับวิชาคณิตศาตร์ได้อย่างถูกต้อง

แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาตร์

1. ศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตร เพื่อให้ทราบวัตถุประสงค์ ขอบข่ายของเนื้อหา วิธีสอน วิธีการจัดกิจกรรม การใช้สื่อการเรียนการสอน และการประเมินผล เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้อง
2. ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆ ความต้องการและความสามารถของเด็กปฐมวัย เพื่อจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการ ความต้องการ ความสนใจ และความสามารถของเด็ก
3. จัดหาสื่อที่เด็กสามารถจับต้องได้ให้เพียงพอ โดยใช้ของจริง ของจำลอง รูปภาพจากสิ่งแวดล้อมที่เด็กคุ้นเคย สื่อที่ใช้แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ วัสดุที่ทำขึ้นเอง วัสดุราคาถูก วัสดุเหลือใช้ และวัสดุท้องถิ่น
4. จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็ก
5. เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ได้ลงมือกระทำ ได้ใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ โดยมีครูดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา
6. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้แก้ปัญหา ใช้ความคิดสร้างสรรค์ มีอิสระในการคิด ค้นคว้าหาเหตุผลด้วยตนเอง
7. จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความแตกต่าง
8. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและบ้าน เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ของเด็ก
9. จัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนคณิตศาสตร์

กิจกรรมปิดท้ายที่เกี่ยวข้องกับวิชาคณิตศาตร์ในวันนี้คือ การจัดกลุ่ม แบ่งออกเป็น 5 คน/กลุ่ม โดยให้ทำ my map ในหัวข้อของแต่ละกลุ่มที่ได้รับ และนำมาสรุปในความคิดของตนเอง และของกลุ่มโดยของกลุ่มจะเป็นการรวบรวมความคิดของแต่ละคนให้อยู่ในแผ่นเดียว เมื่อทุกกลุ่มทำเสร็จแล้ว ก็จะมีหัวหน้าของกลุ่มที่อยู่ดูแลกลุ่มและที่เหลืออีกสี่คนจะเวียนไปรับข้อมูลของแต่ละกลุ่มแล้วนำมาสรุปให้หัวหน้ากลุ่มของตนเองเพื่อนำเสนอภายในอาทิตย์หน้า กิจกรรมนี้ได้ทั้งกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม การเสริมความรู้ความเข้าใจให้กับตนเองและผู้อื่น ซึ่งเราสามารถนำไปปรับใช้ได้ เพราะเราถือว่าได้มีทักษะการรทำงานเป็นระบบไปแล้ว

ข้อมูลเพิ่มเติม

โทรทัศน์ครู.


ในคลิปนี้จะเน้นเรื่องการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาตร์โดยใช้กิจกรรมกลางแจ้งมามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จะเห็นได้ว่าเด็กจะได้ทั้งความรู้ใหม่ ที่มีความรู้เดิมช่วยย้ำอยู่ ดังเช่นกิจกรรมที่ปาเป้า ในกิจกรรมนี้จะช่วยให้เด็กได้เห็นตัวเลข ได้พูด ได้มอง และจดจำ เพราะครูจะมีส่วนร่วมโดยการถามว่าเด็กชอบเลขอะไร เมื่อเด็กชี้ ครู้ผู้สอนก็จะนำพูดและให้เด็กพูดตาม โดยมีการบวกเลขเสริมเข้าไปด้วย ซึ่งถือว่าได้เพิ่มทักษะให้กับเด็กและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้เกือบครบทุกด้านเลยก็ว่าได้..




วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 1

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2556
เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
......................................................

สิ่งที่ได้รับในวันนี้
  1. วันนี้อาจารย์ได้อธิบายและขยายความในเรื่องเกี่ยวกับแนวการสอน ( Course Syllabus )  ให้นักศึกษาทุกคนได้เข้าใจถึงรายวิชาที่จะเรียนในเทอมนี้ ว่าจะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง  นั่น ก็คือวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  2. สิ่งที่คาดหวังในตัวผู้เรียนว่าเรียนวิชานี้ไปแล้วควรจะมีพฤติกรรมอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือสอน เช่น    ด้านคุณธรรม จริยธรรม  , ด้านความรู้   , ด้านทักษะทางปัญา  , ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ   , ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ    และ ด้านจัดการเรียนรู้   
  3. พูดถึงแผนจัดการเรียนรู้ ที่จะต้องเรียนในแต่ละสัปดาห์
  4. ช่วยกันปรับคะแนนการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ 100 คะแนน 
  5. ข้อตกลงการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
  6. ได้เรียนรู้ถึงการแยกในเรื่องหัวข้อของรายวิชา ซึ่งทำออกมาเป็น My Map ดังภาพ