ยินดีต้อนรับ สู่บล็อกของ นางสาววรรวิภา โพธิ์งาม เอกการศึกษาปฐมวัย วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ค่ะ

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 11

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 11

วันที่ 16 มกราคม 2557
เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
.....................................................

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

          วันนี้อาจารย์ให้ทุกคนออกมานำเสนอสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ทุกคนได้คิดไว้แล้วนั้น 
อาจารย์ก็จะแนะนำในสิ่งที่ควรรู้ ควรนำไปปรับใช้กับเด็กๆได้อย่างเหมาะสมตามสื่อที่เราจะทำหรือประดิษฐ์
ขึ้นมา


กิจกรรมในวันนี้ 

กิจกรรมแรก
       
      สื่อมีชื่อว่า รูปทรงลงรู

วัตถุประสงค์
1.เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงต่างๆ
2.เด็กได้รู้เรื่องจำนวนนับ
3.เด็กนำสื่อรูปทรงใส่ลงรูได้ถูกต้องตามแบบที่มีไว้ได้
4.เด็กรู้จักแก้ปัญหาระหว่างเล่นสื่อคณิตศาตร์ได้

การดำเนินกิจกรรม
สื่อนี้ถ้าเราสอนแล้วเราจะสอนให้เด็กได้รู้เรื่องรูปทรง รูปทรงนี้มีชื่อว่าอย่างไร เมื่อสอนเสร็จอาจจะมี
คำถามให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นได้ และอาจจะให้เด็กมามีส่วนร่วมในการใส่รูปทรงให้ลงรูที่เจาะตาม
จำนวนนับ เราสาสมารถสอนเรื่องรูปทรงและเรื่องจำนวนนับไปพร้อมกันได้ คือสามารถเชื่อมโยงได้ขณะ
ทำกิจกรรม และหลังจากนั้นให้เด็กได้เล่นอิสระเพื่อดูหรือสังเกตพฤติกรรมระหว่างที่เด็กเล่นหรือปฏิบัติ 
ครูก็คอยจดบันทึกได้ 

อุปกรณ์ในการทำสื่อ
1. ตัวรูปทรง ทำจากวัสดุคือ ไม้อัดหนา (ที่ไม่ได้ใช้แล้ว) 
2. ตัวฐาน ใช้ไม้กระดานบาง
3. ตัวตั้งฐานสำหรับให้เด็กเสียบลงตามรู จะใช้ไม้กลอง
4. การเจาะรู ใช้สว่านเจาะขนาดมีความกว้างพอสำหรับเสียบกับไม้กลอง 
5. สีสเปรย์ สำหรับพ่นผลงาน
6. การร่างสื่อ
-ดินสอ
-ไม้บรรทัด
-แก้ว

คำแนะนำในการทำสื่อ
ต้องกำหนดจุดประสงค์ตามสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาตร์และสามารถนำสื่อไปประยุกต์ได้หลายด้าน
และสื่อควรทำจากวัสดุเหลือใช้ เพื่อเป็นการบูรณาการความคิดสร้างรรค์ในการใช้สิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว
และสิ่งสำคัญเราสามารถประหยัดงบได้โดยมีผลงานที่สามารถสอนได้ดี

กิจกรรมที่สอง 
      เป็นการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาตร์

การนำไปประยุกต์ใช้..

เราสามารถใช้ความคิดของเราประดิษฐ์สื่อขึ้นมาเพื่อนำไปสอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ แต่เด็ก
ต้องสามารถได้รับความรู้จากสื่อที่เราทำด้วย ส่วนเรื่องการเขียนแผนการสอน ทำให้ได้รู้วิธีในการเขียน
อย่างถูกหลักการและถูกต้องต่อสิ่งที่เราจะสอนนั่นเอง สิ่งสำคัญคือต้องรู้หลักนั่นเอง


การประเมิน
ประเมินตนเอง -  เข้าใจในการทำสื่อมากขึ้น ได้ใช้ความสามารถที่มีในการสร้างผลงาน และามารถเขียน
แผนได้

ประเมินเพื่อน - เพื่อนนำเสนอสื่อได้ดี และมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมาก

ประเมินอาจารย์ -  ให้คำแนะนำในการสร้างสื่อที่ดีและเหมาะสมแก่นักศึกษา และให้แนวทางในการเขียน
แผนได้อย่างเข้าใจอีกด้วย

วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 10

วันที่ 9 มกราคม 2557
เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
......................................................

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

สาระได้มา 2 ช่องทาง
1. ครูผู้สอนเป็นคนกำหนด
2. เด็กเป็นคนกำหนด (เพราะเด็กจะอยากรู้)

วันนี้ทบทวนงานกลุ่มที่แบ่งให้ไปทำในเรื่องของสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ และ ออกมานำเสนอตามลำดับ ซึ่งมีทั้งหมด 4 กลุ่ม  จะมีสาระที่ 2-5  ดังนี้...

สาระที่ 2 การวัด (เพิ่มเติมจากส่วนที่เพื่อนนำเสนอ)
- วัดเพื่อหาค่าต่างๆ ที่เราต้องการที่จะหาซึ่งออกมาเป็นตัวเลข
- เมื่อวัดหาค่าเสร็จแล้ว เราต้องมีเครื่องมือ สมมติว่าวัดความยาวถ้าเครื่องมือไม่เป็นทางการ เช่น คืบมือ ฝ่าเท้า ถ้าเป็นเครื่องมือกึ่งทางการ เช่น เชือก เราสามารถตัดเชือกให้เท่ากันได้ และเครื่องมือที่เป็นทางการ เช่น ไม้เมตร สายเมตร เป็นต้น เราจะให้เด็กรู้จักการใช้เครื่องมือให้เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอน

สาระที่ 3 เรขาคณิต (เพิ่มเติมจากส่วนที่เพื่อนนำเสนอ)
- ควรสอนทีละรูปทรง
- เด็กสามารถเรียกรูปทรงนั้นได้ เมื่อเห็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัว
- ทิศทางอาจจะสอนจากการสร้างเหตุการณ์ตรงนั้น
- อาจจะถามเด็กๆมองเห็นอะไรที่เหมือนกับรูปทรงนั้นบ้าง ให้เด็กได้มองรอบๆตัวของเด็ก ให้เขาได้ฝึกทักษะการสังเกตไปด้วย ซึ่งบางทีสื่อหรืออุปกรณ์เราไม่จำเป็นจะต้องเตรียมมาก็ได้ เพื่อที่เด็กจะได้ประสบการณ์ และ ได้เชื่อมโยงกับสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว

สาระที่ 4 พีชคณิต  (เพิ่มเติมจากส่วนที่เพื่อนนำเสนอ)
- ควรจะมีอีกชุดหนึ่งให้เด็กได้เห็นแบบรูป ได้อย่างชัดเจน และถูกต้อง

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น (เพิ่มเติมจากส่วนที่เพื่อนนำเสนอ)
- เวลาจะเปรียบเทียบควรจะให้เด็กนับ จับคู่ 1 ต่อ 1 ให้เห็นได้อย่างชัดเจน และเด็กก็ได้ฝึกการนับเลขได้ด้วย

สิ่งที่ควรคำนึงถึง

           สิ่งที่ใช้สอนหรือสาระสำคัญ เราจะไม่เน้นเนื้อหา เราเชื่อในทฤษฎีพัฒนาการ เด็กต้องเรียนรู้จากประสบการณ์และได้เห็นจริง เนื้อหาจะหาเมื่อไรก็ได้ ถ้าเรารู้จักใช้ความคิด

กิจกรรมในวันนี้ 

             เป็นการจับกลุ่ม 5 คน แตก my mapping เป็นเนื้อหา แต่ละเนื้อหาย่อมมีหัวข้อกำกับเสมอ ยกตัวอย่างเช่น
- ลักษณะ
- ส่วนประกอบ
- ประโยชน์หรือการใช้งาน
- โทษหรือข้อจำกัด
- วิธีการดูแลรักษา

จากหัวข้อกำหนดแสดงให้เป็น 5 วันในการจัดการเรียนการสอน เมื่อทำเสร็จให้แต่ละคนในกลุ่มแบ่งงานกัน ว่าใครจะสอนวันไหนตามแผนการเรียนการสอนของตนเองตามหัวข้อที่ได้เลือกไว้ 

แบบผังความคิดของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอในวันนี้..

กลุ่ม 1 ไข่


กลุ่ม 2 ไก่

กลุ่ม 3 อาหาร 5 หมู่

กลุ่ม 4 ส้ม



การประเมิน
ประเมินตนเอง - สนุกกับการคิดงานในส่วนของการทำกิจกรรม เพราะมันเป็นความคิดที่เราสามารถโต้แย้งกับเพื่อนได้ ทำให้การเรียนในครั้งนี้สนุกเพลิดเพลินพร้อมได้รับความรู้อีกด้วย

ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆ ได้ช่วยกันคิดและมีข้อเสนอแนะร่วมกันได้ดีมาก ต่างคนต่างมีส่วนร่วมและรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง

ประเมินอาจารย์ - อาจารย์ให้คำแนะนำในการแก้ไขในส่วนที่นำเสนองานของเพื่อนแต่ละคน ทำให้เพื่อนๆได้นำความรู้ที่ได้ในวันนี้จากคำแนะนำของอาจารย์กลับไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องมากขึ้น




บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 9

วันที่ 2 มกราคม 2557
เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
......................................................

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

 วันนี้ได้ทบทวนเรื่องสาระทางคณิตศาสตร์มีทั้งหมด 6 สาระการเรียนรู้และเชื่อมโยงเข้าสู่การสอนโดยเป็นกิจรรม 6 กิจกรรมที่ครูควรจัดให้กับเด็กปฐมวัย

1.     กิจกรรมเคลื่อนไหวตามจังหวะ  

                         เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายตามจังหวะอย่างอิสระ โดยใช้เสียงเพลง คำคล้องจอง เครื่องเคาะจังหวะ และอุปกรณ์อื่นๆประกอบการเคลื่อนไหว

2.     กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  

                          เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึกความคิกริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยใช้ศิลปะ

3.     กิจกรรมเล่นเสรี 

                          เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอิสระตามศูนย์การเรียน ที่จัดไว้ ภายในศูนย์เด็กเล็กเช่น ศูนย์บล็อก ศูนย์หนังสือ ศูนย์ร้านค้า ศูนย์บ้าน เป็นต้น

4.     กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง 

                          เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเพื่อออกกำลังกายเคลื่อนไหวร่างกาย และแสดงออกอย่างอิสระ

5.     กิจกรรมเกมการศึกษา 

                          เป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนาสติปัญญา มีกฎเกณฑ์กติกาง่ายๆ

6.     กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 

                        เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่      


กิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมนี้มีอยู่ในหลักสูตรการศึกษา แต่ในการจัดกิจกรรมครูควรคำนคำนึงถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กด้วย 


คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเคลื่อนไหวตามจังหวะ  เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ รูปทรงและทิศทางของการเคลื่อนไหว สัญลักษณ์  การนับจำนวน เรียนรู้แบบรูป และการจับคู่แบ่งกลุ่ม


คณิตศาสตร์กับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  เด็กได้ออกแบบท่าทางรูปทรง ทิศทางการเคลื่อนไหวเด็กได้คิดสร้างสรรค์และเหมาะสมกับพัฒนาการ 


คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเล่นเสรี  เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรี ตามความสนใจและความต้องการของเด็กทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย ให้เด็กรู้จักคิดวางแผนและตัดสินใจในการทำกิจกรรม


คณิตศาสตร์กับกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เด็กเรียนรู้เรื่องการนับ ความช้า เร็ว ความสูง ขนาด ทิสทางการแกว่ง เช่น การเล่นชิงช้า 


คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเกมการศึกษา  

1. เกมจับคู่- จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน- จับคู่ภาพเงา- จับคู่ภาพสัมพันธ์- จับคู่ภาพชิ้นส่วนที่หายไป- จับคู่ภาพกับโครงร่างฯลฯ
2. เกมภาพตัดต่อ (ที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียน )
3. เกมจัดหมวดหมู่
4. เกมโดมิโน
5. เกมเรียงลำดับ

คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เน้นให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงและมีโอกาสค้นพบด้วยตนเองให้มากที่สุด ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับระยะเวลา


การประเมินผล : ไม่มี เนื่องจากเป็นการมาตามงานเป็นการมีความรับผิดชอบส่วนบุคคลเนื่องจากวันนี้ไม่ได้มาเรียนเพราะไม่สบาย จึงทำให้มาเรียนไม่ได้

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 8

วันที่ 26 ธันวาคม 2556
เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
......................................................

หมายเหตุ : ในวันนี้ไม่มีการเรียนการสอนอันเนื่องมาจากเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่


บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 7

วันที่ 19 ธันวาคม 2556
เวลาเรียน 08.00 - 12.20 น.
......................................................

หมายเหตุ : ในวันนี้ไม่มีการเรียนการสอนอันเนื่องมาจากเป็นช่วงเวลาสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม